วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555

แนวคิด ทฤษฏีนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา


นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
นวัตกรรมทางการศึกษา (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น
นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
          ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
           ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)

           ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์
เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology) หมาย ถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้นเทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุม องค์ประกอบ 3 ประการ คือ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ
หลักการ/ทฤษฎี/วิธีการ/ แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา ประกอบด้วย 
4  ทฤษฎี
1.หลักการและทฤษฎีทางจิตวิทยาการศึกษา
            1.1 ทฤษฎีการเรียนรู้
            1.2 ทฤษฎีความแตกต่างระหว่างบุคคล
            1.3 ทฤษฎีการพัฒนาการ
2. ทฤษฎีการสื่อสาร
3. ทฤษฎีระบบ
4. ทฤษฎีการเผยแพร่

        ศึกษาแนวคิด ทฤษฏี นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ แหล่งการเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้ การออกแบบ การสร้าง การนำไปใช้ การประเมินและการปรับปรุงนวัตกรรม

 ๕.  จุดประสงค์การเรียน
     ๕.๑ เพื่อปรับปรุงพัฒนาเนื้อหาสาระและกิจกรรมการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก
      ๕.๒ เพื่อปรับปรุงพัฒนาเนื้อหาสาระและกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และมาตรฐานวิชาชีพของคุรุสภา

๖. จุดมุ่งหมายของรายวิชา
           พัฒนาให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นในการนำวิชาความรู้ประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนให้เกิดประสิทธิผลมากที่สุด และทำประโยชน์ต่อการเรียนการสอน โดยมีหลักการและขั้นตอนการปฏิบัติดังต่อไปนี้
๖.๑  เพื่อให้นิสิตเข้าใจแนวคิด ทฤษฎี นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
       ๖.๒  เพื่อให้นิสิตคิด วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาได้
       ๖.๓  เพื่อให้นิสิตรู้ถึงแหล่งการเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้ที่เหมาะสม
       ๖.๔  เพื่อให้นิสิตสามารถ การออกแบบ การสร้าง การนำไปใช้  ประเมิน และปรับปรุงนวัตกรรมการศึกษาได้